หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2557

เทคโนโลยีที่ล้ำหน้าจากซาบของกองทัพเรือไทย

การทำให้ระบบอำนวยการรบมีความทันสมัยโดยซาบ บนเรือฟริเกตจรวดนำวิถีของชุดเรือหลวงนเรศวรของกองทัพเรือไทย เรือหลวงนเรศวรและเรือหลวงตากสินได้ทำให้ความสามารถในการป้องกันประเทศของกองทัพเรือไทยได้ก้าวไปอีกระดับ และก้าวไปอยู่ในแถวหน้าของกองทัพเรือในภูมิภาค


เรือหลวงนเรศวรและเรือหลวงตากสินได้รับการติดตั้งระบบอำนวยการรบ(CMS) ของซาบ รุ่น 9LV Mk4 ที่มีเทคโนโลยีล่าสุด และระบบควบคุมการยิง(FCS) CEROS 200/EOS 500  สำหรับสัญญาที่ตามมาสำหรับอุปกรณ์ในการมองเห็นและการสื่อสารเพิ่มเติมนั้น ซาบได้รับเลือกให้ทำการติดตั้งชุดอำนวยการรบ(CS) บนเรือฟริเกตทั้งสองลำ


นอกจาก ความทันสมัยของ CS แล้ว เรือฟริเกตทั้งสองลำยังได้รับการติดตั้งระบบเครือข่ายข้อมูลทางยุทธวิธี (TDL's) เพื่อทำให้เรือทั้งสองสามารถแบ่งปันภาพทางยุทธวิธีระหว่างกัน   และแบ่งปันข้อมูลกับกริเพนและเครื่องบินที่มีเรดาร์แจ้งเดือนล่วงหน้าของกองทัพอากาศไทย ซึ่งจะเป็นการปรับปรุงความมีประสิทธิผลของสินทรัพย์จากทั้งกองทัพเรือและกองทัพอากาศได้เป็นอย่างมาก


ระบบอำนวยการรบของซาบรุ่น 9LV จะบูรณาการเซ็นเซอร์, อาวุธและเครือข่ายข้อมูล ซึ่งจะทำให้เรือฟริเกตสามารถต่อสู้กับภัยคุกคามที่ทันสมัยในหลากหลายรูปแบบรวมถึง ขีปนาวุธแบบเรี่ยผิวน้ำและภัยคุกคามที่มีพื้นผิวขนาดเล็ก


ระบบอำนวยการรบ(CMS) รุ่น 9LV Mk4 ประกอบด้วยชุดของแผงคอนโซลอเนกประสงค์(MFC) ที่ให้ส่วนแสดงผลและสิ่งอำนวยความสะดวกในการป้อนข้อมูลสำหรับการควบคุมของระบบรวมทั้งเซ็นเซอร์และอาวุธที่ได้รับการผนวกรวมเข้ามาอยู่ในระบบ     CMS เป็นหัวใจหลักของ CS ในเรือฟริเกต และจะปฏิบัติการสั่งการและควบคุม, การระบุเอกลักษณ์, การติดตาม และการต่อสู้ด้วยอาวุธ

นอกจากนี้ TDL's ยังทำให้เรือฟริเกตมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลแบบเรือ-ถึง-เรือ ได้อย่างเชี่ยวชาญ ตลอดจนความสามารถในการเฝ้าตรวจ(AEW) ในพิสัยที่ขยายกว้างขึ้น และความสามารถในการต่อสู้ในพิสัยที่ขยายกว้างขึ้นผ่านการควบคุมของเครื่องบินต่อสู้กริเพน


เรดาร์ CEROS 200 ของซาบจำนวนสองเครื่องและระบบการติดตามด้วยสายตาและระบบการติดตามด้วยสายตา EOS 500 เป็นหัวใจหลักของความสามารถในการควบคุมการยิงของเรือฟริเกตและได้รับการบูรณาการเข้ากับลำกล้องของปืนขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ตลอดจนระบบขีปนาวุธแบบพื้นผิวสู่พื้นผิว(SSM)  และพื้นผิวสู่อากาศ(SAM) ในการให้ความสามารถของการป้องกันตนเองอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนจากภัยคุกคามสมัยใหม่ทั้งแบบสมมาตรและแบบอสมมาตร


เรือฟริเกต 2,900t ของชุดเรือหลวงนเรศวรจะมีความทันสมัยหลังจากที่ได้ติดตั้งระบบอำนวยการรบ(CMS)ของซาบรุ่น  9LV Mk4, FCS, SG AMB 3D radar, TDL’s และเรดาร์เฝ้าระวังทางอากาศพิสัยไกลที่คงไว้, ระบบโซนาร์แบบใหม่ และระบบ ESM แบบใหม่ เรือฟริเกตยาว 120 ม. ที่มีคานยาว 13 ม. มีความสามารถในการบรรทุกลูกเรือได้ 150 คน และมีชุดของอาวุธที่ครอบคลุม รวมถึง ปืนรุ่น  Mk45 Mod2 5”, ปืน 30mm สองกระบอก, เครื่องปล่อยตอร์ปิโดแบบสามท่อรุ่น Mk32 Mod5 สองเครื่อง, จรวดต่อต้านเรือฮาร์พูนรุ่น RGM-84 แปดตัว, ระบบการปล่อยในแนวตั้งสำหรับจรวดต่อต้านทางอากาศแบบ Evolved Sea Sparrowone รุ่น  Mk41 หนึ่งระบบ และระบบเป้าหลอกแบบ 48 ท่อ หนึ่งระบบ


หลังจากสัญญาสำหรับการทำให้เรือฟริเกตชุดเรือหลวงนเรศวรทันสมัย ซาบยังได้รับเลือกให้ทำสัญญาในการปรับปรุงระบบอำนวยการรบ (CMS) บนเรือหลวงจักรีนฤเบศรซึ่งเป็นเรือหลวงบรรทุกเครื่องบิน ของกองทัพเรือไทยอีกด้วย เรือบรรทุกเครื่องบินได้รับการติดตั้งระบบอำนวยการรบ (CMS) รุ่นล่าสุดของซาบ 9LV Mk4  ตลอดจนชุดของ TDL's ชุดเดียวกันกับที่ติดตั้งบนเรือฟริเกต ของชุดเรือหลวงนเรศวร


ในปี 2013 ซาบได้ลงนามในสัญญากับบริษัท Daewoo Shipbuilding & Marine Engineering (DSME) ในเกาหลี สำหรับการส่งมอบส่วนที่เป็นหัวใจหลักของระบบอำนวยการรบ(CS) สำหรับเรือฟริเกตลำใหม่ของกองทัพเรือไทย การสั่งซื้อรวมถึงการส่งมอบระบบอำนวยการรบ( CMS) ของซาบรุ่น 9LV Mk4, FCS และระบบเรดาร์ ตลอดจนมีความรับผิดชอบในการจัดหาผู้ผลิตอื่นๆ ในส่วนที่เป็นองค์ประกอบของระบบอำนวยการรบ (CS)อีกเป็นจำนวนมมาก และซาบยังเป็นผู้บูรณาการระบบอำนวยการรบสำหรับเรือฟริเกตของ DSME โดยมีความรับผิดชอบในการบูรณาการระบบอำนวยการรบ(CS) ที่สมบูรณ์

ที่มา: Royal Thai Navy's Saab Edge

วันเสาร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ยานเกราะล้อยาง BTR-3E1 สำหรับกองทัพบกไทย?


วิดีโอของการทดสอบการยิงระบบอาวุธ ยานเกราะล้อยาง BTR-3E1 ของทหารยูเครน ซึ่งตามข้อความท้ายวิดีโอบอกว่า เป็นยานเกราะใหม่จำนวน 5 คัน ที่จะถูกนำเข้าใช้งานในกองทัพยูเครน ซึ่งจากรูปลักษณ์ของยานเกราะดังกล่าว เป็นที่น่าสังเกตว่า เหมือนจะเป็นยานเกราะล้อยาง BTR-3E1 ที่ผลิตให้สำหรับกองทัพบกไทย..

ข่าวที่เกี่ยวข้อง: Укроборонпром передал Национальной гвардии Украины пять БТР-3E


วันพฤหัสบดีที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2557

เรือ Corvettes (P28) ลำแรก จะเข้าประจำการในกองทัพเรืออินเดีย..

เรือลำแรกในสี่ลำ ของเรือ Corvettes สำหรับสงครามต่อต้านเรือดำน้ำ (ASW) ที่ทำการออกแบบและสร้างโดยทางการอินเดีย ตาม Project 28 anti-submarine warfare corvettes (P28) จะเข้าประจำการในกองทัพเรืออินเดีย ในเดือนหน้านี้.. Livefist: Brand New Indian Anti-Submarine Warships Begin Ser...: The first of India's four brand new home-designed and built Project 28  anti-submarine warfare corvettes, Kamorta, enter...

Livefist: Brand New Indian Anti-Submarine Warships Begin Ser...

วันศุกร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ภาพการติดตั้งแท่นยิง VLS MK.41 ให้กับ ร.ล.ตากสิน เมื่อ 1 พ.ค.57

กองอาวุธปล่อยนำวิถี กรมสรรพาวุธทหารเรือ ร่วมกับ อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช กรมอู่ทหารเรือ ดำเนินการติดตั้งแท่นยิงอาวุธปล่อยนำวิถีแนวตั้ง VLS MK.41 ให้กับ เรือหลวงตากสิน ณ อรม.อร. เมื่อ ๑ พ.ค.๕๗

 ภาพการนำ Module ลงติดตั้งให้กับเรือ ร.ล.ตากสิน

ที่มา: http://www.ordn.navy.mi.th/missile_web/news7.html

วันพฤหัสบดีที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ความก้าวหน้าโครงการปรับปรุงเรือฟริเกต ชุด เรือหลวงนเรศวร

พลเรือเอก ธนะรัตน์ อุบล เสนาธิการทหารเรือ และ ประธาน กฟน. เดินทางมาติดตามความก้าวหน้าโครงการปรับปรุงเรือฟริเกต ชุด ร.ล.นเรศวร ณ อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี เมื่อ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๕๗
 
 
พลเรือตรี รัษฎางค์ ธีรเนตร ผู้บัญชาการกองเรือฟริเกตที่ ๒ ตรวจเยี่ยมและติดตามความก้าวหน้าโครงการปรับปรุงเรือฟริเกต ชุด ร.ล.นเรศวร ณ ร.ล.นเรศวร อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี เมื่อ ๙ มิถุนายน ๒๕๕๗
 
 

ที่มา: http://www.frigate2.com/News/narasuan/narasuan1.htm
ที่มา: http://www.frigate2.com/News/narasuan/narasuan%202.htm