หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2559

การฝึกกองทัพเรือ'59 - การปฏิบัติการที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง

การปฏิบัติการที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง (Network Centric Operations : NCO) ทอ.-ทร.
การปฏิบัติการที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง (Network Centric Operations : NCO) เป็นการปฏิบัติการ ทางทหารซึ่งตอบสนองทฤษฎีการสงครามที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง (Network Centric Warfare : NCW) ซึ่งเป็น การสงครามรูปแบบใหม่ในยุคของข้อมูลข่าวสาร (Information Age) ก่อให้เกิดอานุภาพในการรบ ผ่านการเชื่อมโยง เป็นระบบเครือข่าย (Network) ระหว่างผู้มีอานาจในการตัดสินใจและผู้ปฏิบัติในพื้นที่การรบ เพื่อการ Share Situation Awareness (SA) ก่อให้เกิดความรวดเร็วและความถูกต้องในการตัดสินใจ นาไปสู่การปฏิบัติที่ถูกจังหวะ เวลา มีอานุภาพทาลายล้างสูง ลดการสูญเสียของกาลังพลและอาวุธยุทโธปกรณ์ของฝ่ายเรา รวมถึงสร้างความเป็น หนึ่งเดียวในการปฏิบัติ ซึ่งการปฏิบัติการที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง (NCO) นั้น เป็นการประยุกต์ใช้ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) สนับสนุนให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่าง Sensor Layer, Decision Maker Layer และ Effector Layer โดยใช้เครือข่าย (Network) เป็นศูนย์กลาง ทั้งภายในและระหว่าง หน่วยทหาร ทั้งระดับยุทธวิธี ยุทธการ และยุทธศาสตร์ เพื่อให้ข้อมูล ข่าวสาร ภาพสถานการณ์ และคาสั่ง ผ่าน การสื่อสารได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว แม่นยำ และทั่วถึง ทำให้ผู้บังคับบัญชาสามารถตัดสินสั่งการไปยังหน่วยรบ/ผู้ปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง และทันต่อสถานการณ์ ก่อให้เกิดความได้เปรียบในการทำสงคราม ซึ่งความได้เปรียบที่กล่าวมานั้น เกิดจากความก้าวหน้าในเทคโนโลยีทางการทหาร รวมทั้ง ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีเครือข่าย (Network) ที่ทำให้การเชื่อมต่อและการสื่อสารระหว่าง Layer ต่าง ๆ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

การปฏิบัติการที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง (NCO) สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติการทางทหาร ด้วยการบูรณาการระบบต่าง ๆ เข้าไว้ด้วยกันแบบ System of Systems เช่น ระบบตรวจจับและแสวงหาข้อมูล ข่าวสาร (Intelligence Sensors) ระบบควบคุมบังคับบัญชา (Command and Control Systems) ระบบอาวุธที่ แม่นยำ (Precision Weapons) และระบบต่าง ๆ ในส่วนของเครือข่าย (Network) เป็นต้น ซึ่งการบูรณาการระบบ ต่าง ๆ เข้าไว้ด้วยกันนี้ ทาให้เกิดการขยายศักยภาพในการรับรู้ถึงภาพสถานการณ์ การประเมินเป้าหมายที่รวดเร็ว และการใช้อาวุธที่แม่นยำ จากประสิทธิภาพและประสิทธิผลของพัฒนาระบบดังกล่าว ทำให้แนวคิดในการทำสงครามโดยใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลางเป็นที่ยอมรับจากหลายประเทศในการนาแนวคิดนี้มาเป็นหลักในการพัฒนา ระบบควบคุมบังคับบัญชา ระบบตรวจจับ ระบบอาวุธ และระบบการสื่อสารของกองทัพ

ทอ. และ ทร.ตระหนักถึงการพัฒนาขีดความสามารถกำลังรบ จึงนำแนวคิดการปฏิบัติการที่ใช้เครือข่ายเป็น ศูนย์กลาง (NCO) มาประยุกต์ใช้ โดยร่วมกันพัฒนาการปฏิบัติการที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง (NCO) ตั้งแต่ ปี ๕๓ เป็นต้นมา เพื่อนาไปสู่การปฏิบัติการที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลางระหว่าง (NCO) ทอ.-ทร.ที่เป็นรูปธรรมในอนาคต การพัฒนาการปฏิบัติการที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง (NCO) ทอ.-ทร.นั้น ทั้งสองเหล่าทัพได้กาหนดขีดความสามารถที่ต้องการจากความต้องการทางยุทธการ นำไปสู่การพัฒนาระบบฯ และอุปกรณ์เพื่อติดตั้งกับ Platform ของทั้งสองเหล่าทัพรองรับการปฏิบัติการที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง (NCO) ภายใต้กรอบงบประมาณที่ได้รับการอนุมัติจากรัฐบาล โดย ทอ.ได้พัฒนาระบบเชื่อมโยงพัฒนาระบบเชื่อมโยงข้อมูลทาง ยุทธวิธี (Tactical Data Link : TDL) แบบ Link-T ติดตั้งกับ บ.Gripen 39 C/D และระบบบัญชาการและควบคุมทางอากาศ (Air Command and Control : ACCS) ของ ทอ.เพื่อใช้ในการปฏิบัติการทางอากาศ และปฏิบัติการร่วมกับเหล่าทัพอื่น ซึ่ง ทร.ได้พัฒนาขีดความสามารถกาลังทางเรือ โดยติดตั้งระบบอานวยการรบ (Combat Management System : CMS) กับ ร.ล.จักรีนฤเบศร, ร.ล.นเรศวร และ ร.ล.ตากสิน จึงติดตั้งระบบ เชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธี (TDL) เช่นเดียวกับ ทอ. เพื่อให้เกิดแลกเปลี่ยนข้อมูลทางยุทธวิธี (TDL) กับ บ.Gripen 39 C/D และ บ.Saab 340 AEW ของ ทอ.แบบบูรณาการ ส่วนข้อมูลภาพสถานการณ์การปฏิบัติการร่วมในพื้นที่การรบจะถูกส่งให้กับส่วนบัญชาการและควบคุมของ บก.ทท.และทั้งสองเหล่าทัพผ่านเครือข่ายและระบบแผนที่สถานการณ์ร่วมของ บก.ทท. เพื่อการสร้างภาพสถานการณ์ (Common Operating Picture : COP) ที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล นำไปสู่การตัดสินตกลงใจของผู้บังคับบัญชาในการปฏิบัติการร่วม ที่ถูกต้อง รวดเร็ว และแม่นยาในทุกระดับชั้น 

ในการปฏิบัติการร่วมโดยใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง (NCO) นั้น เรือของ ทร.สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลทางยุทธวิธี (TDL) กับ บ.Gripen 39 C/D ของ ทอ.เพื่อเสริมขีดความสามารถในการโจมตีเป้าหมายและป้องกันการทำลายฝ่ายเดียวกัน อีกทั้งสามารถรับข้อมูลการตรวจจับเป้าหมายจาก บ.Saab 340 AEW ของ ทอ.เพื่อเสริมประสิทธิภาพการตรวจจับของกองเรือ รวมทั้งข้อมูลที่แลกเปลี่ยนในพื้นที่การรบผ่านระบบเชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธี (TDL) สามารถส่งให้กับระบบบัญชาการและควบคุมของทั้ง ๒ เหล่าทัพ ผ่านเครือข่าย (Network) ซึ่งเป็นไปตามหลักการของการปฏิบัติการที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง (NCO) เป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการ ทำลายข้าศึกและลดโอกาสในการโจมตีฝ่ายเดียวกัน (Blue on Blue Fratricide Prevention) การปฏิบัติการที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง (NCO) ระหว่าง ทอ.-ทร. ก่อให้เกิดปัจจัยทวีกาลัง (Force Multiplier) ซึ่งเกิดจากความตระหนักรู้ในสถานการณ์ (Situation Awareness) ร่วมกันทั้งในระดับยุทธวิธี ระดับ ยุทธการ ระดับยุทธศาสตร์ นำไปสู่การตัดสินตกลงใจและการใช้กาลังที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ซึ่งเป็นคุณประโยชน์มหาศาลในการป้องกันประเทศที่พร้อมรับมือกับภัยคุกคามทุกรูปแบบ เพื่อปกป้องเอกราชและอธิปไตยของประเทศชาติ สืบไป
เรียบเรียงโดย น.อ.กฤษณัส กาญจนกุล
รอง ผอ.กนผ.สนผ.ยก.ทอ.
ฝูงบิน F-16 จากกองบิน1 นครราชสีมา จำนวน 8 เครื่อง และ ฝูงบิน Gripen จากกองบิน7 สุราษฎร์ธานี จำนวน 6 เครื่อง ลงจอดที่สนามบินอู่ตะเภาหลังเสร็จสิ้นภารกิจรับมือสถานการณ์ ทางทะเล ทดสอบการสนับสนุนปฏิบัติการร่วมกับกองทัพเรือหน่วยบิน 7012 และ 7021 เพื่อภารกิจบินคุ้มกันกองเรือและโจมตีเรือผิวน้ำ ด้วยปฏิบัติการที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง(Network Centric Operations : NCO) เป็นการรบแบบเชื่อมโยงเป็นระบบเครือข่ายเป็นความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรบ และหน่วยบิน 1022 1023 และ 1033 ทดสอบบินโจมตีกองเรือ โดยกองทัพอากาศจัดการทดสอบการใช้กำลังของกองทัพอากาศ ประจำปี 2559 โดยวางกำลังหลักที่ฝูงบิน106 สนามบินอู่ตะเภา จ.ระยอง
ภาพ อดิศร ฉาบสูงเนิน (Adisorn Chabsungnuen)



ที่มา: Kris Karnchanakul

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น