หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2560

การผลิต รถถังหลัก OPLOT-T สำหรับกองทัพบกไทย..

รวมวิดีโอข่าวที่แสดงให้เห็นการผลิต รถถังหลัก OPLOT-T สำหรับกองทัพบกไทย ในโรงงาน Malyshev ,ประเทศยูเครน..










วันเสาร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2560

อัพเดทภาพการผลิต รถถังหลัก OPLOT-T สำหรับกองทัพบกไทย

อัพเดทภาพการผลิต รถถังหลัก OPLOT-T สำหรับกองทัพบกไทย ซึ่งเป็นภาพที่ถ่ายในช่วงที่คณะของทางการยูเครน.. เข้าเยี่ยมชมโรงงาน Malyshev เมื่อ 23 มิ.ย.60 ..


ระบบขับเคลื่อน AIP ในเรือดำน้ำชั้น Yuan ของกองทัพเรือจีน


ระบบเครื่องยนต์ซึ่งไม่ต้องการอากาศจากภายนอกในการสันดาป หรือ ระบบ AIP ซึ่งเป็นระบบขับเคลื่อนที่ติดตั้งในเรือดำน้ำชั้น Yuan ของกองทัพเรือจีน ทำให้เรือปฏิบัติการอยู่ใต้น้ำได้เป็นระยะเวลายาวนานหลายสัปดาห์ โดยไม่ต้องโผล่ขึ้นเหนือน้ำ.. ทั้งนี้ ระบบ AIP ของจีน มีต้นแบบมาจาก เครื่องยนต์สเตอร์ลิง ซึ่งทางการจีนซื้อเทคโนโลยี จากประเทศสวีเดน มาทำการผลิตเอง..โดยเครื่องยนต์ดังกล่าว (AIP) ที่ติดตั้งเป็นระบบขับเคลื่อนในเรือดำน้ำชั้น Yuan ของกองทัพเรือจีน ได้รับการพิสูจน์ถึงประสิทธิภาพในการใช้งานมาเป็นระยะเวลา 10 ปี โดยไม่มีปัญหาใดๆ

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปทรงวางกระดูกงูเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง ลำที่ 2

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปทรงวางกระดูกงูเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง ลำที่ 2 เพื่อเฉลิมพระเกียรติ ในวันศุกร์ที่ 23 มิถุนายน 2560 เวลา 14.00 น. ณ อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช กรมอู่ทหารเรือ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี

โครงการสร้างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งลำที่ 2 เพื่อเฉลิมพระเกียรติ เป็นโครงการที่กองทัพเรือขออนุมัติกระทรวงกลาโหมดำเนินการต่อขึ้นจากแบบเรือที่กองทัพเรือมีใช้ราชการ ด้วยการน้อมนำและยึดถือการพึ่งพาตนเองตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ตามกระแสพระราชดำรัสที่ทรงรับสั่งแก่ผู้บังคับหมู่เรือรักษาการณ์วังไกลกังวล และผู้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับเสด็จ ณ วังไกลกังวล เกี่ยวกับการใช้เรือของกองทัพเรือ เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2545 ที่ว่า “กองทัพเรือจึงควรใช้เรือที่มีขนาดเหมาะสมและสร้างได้เอง ซึ่งเมื่อสร้างเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.91 ได้แล้ว ควรขยายแบบเรือให้ใหญ่ขึ้นและสร้างเพิ่มเติม” ซึ่งกองทัพเรือได้แต่งตั้งคณะทำงานศึกษาแบบเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งที่กองทัพเรือมีใช้ในราชการ โดยมีมติให้ใช้แบบเรือของเรือหลวงกระบี่ ที่กองทัพเรือได้ต่อขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสที่ทรงมีพระชนมพรรษา 84 พรรษา เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2554 เป็นแบบพื้นฐานในการสร้างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งลำใหม่พร้อมกับเสนอแนะให้ปรับปรุงข้อบกพร่องในส่วนต่างๆ ที่เคยเกิดขึ้นกับเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุดเรือหลวงปัตตานี และเรือหลวงกระบี่ เพื่อให้เรือลำใหม่มีคุณลักษณะที่เหมาะสมมากขึ้นในการตอบสนองภารกิจของกองทัพเรือ โดยกองทัพเรืออนุมัติให้โครงการสร้างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งลำที่ 2 เป็นโครงการเพื่อเฉลิมพระเกียรติ

ทั้งนี้ โครงการสร้างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งลำที่ 2 เฉลิมพระเกียรติฯ เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนากำลังรบตามยุทธศาสตร์กองทัพเรือ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของกองทัพเรือในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล การรักษากฎหมายในทะเล และการปฏิบัติการรบผิวน้ำ รวมทั้งการค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยในทะเล และสนับสนุนการปฏิบัติการทางเรืออื่นๆ เพื่อให้เรือตรวจการณ์ไกลฝั่งลำที่ 2 นี้ ปฏิบัติการตามภารกิจหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย สอดคล้องกับพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ที่พระราชทาน ในพิธีวางกระดูกงูเรือ ต.91 เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2510 ณ กรมอู่ทหารเรือ ที่ว่า “การป้องกันประเทศทางทะเลเป็นหน้าที่โดยตรงและสำคัญที่สุดของกองทัพเรือ หน้าที่นี้เป็นภาระหนักที่ต้องอาศัยทหารซึ่งมีความรู้ความสามารถและเรือรบจะมีคุณภาพดี ประกอบพร้อมกันไป บรรดาเรือรบที่ใช้ในราชการเป็นเรือที่สั่งทำจากต่างประเทศ การที่ทางราชการกองทัพเรือสามารถเริ่มต่อเรือยนต์รักษาฝั่งขึ้นใช้ในราชการได้เช่นนี้ จึงควรจะเป็นที่น่ายินดี และน่าสนับสนุนอย่างยิ่ง นับว่าเป็นความเจริญก้าวหน้าสำคัญก้าวหนึ่งของกองทัพเรือ”

สำหรับการดำเนินโครงการสร้างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งลำที่ 2 เฉลิมพระเกียรติฯ มีระยะเวลาดำเนินโครงการ 4 ปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2558 - 2561 แบ่งออกเป็น 2 ระยะ โดยระยะที่ 1 เป็นการจัดหาเฉพาะระบบตัวเรือ จำนวน 1 ลำ ประกอบด้วยแบบและพัสดุในการสร้างเรือ พร้อมระบบสนับสนุนการส่งกำลังบำรุงรวมและการบริการทางด้านเทคนิค ระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ.2558 – 2561 ระยะที่ 2 การจัดหาระบบควบคุมบังคับบัญชาและตรวจการณ์ และระบบอาวุธ ระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่ พ.ศ.2559 – 2561 โดยจะดำเนินการสร้างเรือ ณ อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช จึงอาจกล่าวได้ว่า กองทัพเรือได้ใช้ศักยภาพและความรู้ความสามารถของกำลังพลกองทัพเรือ ในการดำเนินการติดตั้ง ทดสอบ ได้อย่างเต็มภาคภูมิ แม้ว่าจะใช้แบบเรือของต่างประเทศ แต่ถือเป็นการสร้างเรือขนาดใหญ่ด้วยการพึ่งพาตนเอง โดยอู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช นับได้ว่าเป็นอู่ซ่อมเรือที่มีขนาดใหญ่มากแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ สามารถให้บริการซ่อมบำรุงเรือทุกขนาดที่กองทัพเรือมีประจำการ

คุณลักษณะเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งลำที่ 2 เพื่อเฉลิมพระเกียรติ
- ความยาวตลอดลำ 90.50 เมตร กว้าง 13.50 เมตร
- กินน้ำลึก 3.70 เมตร
- ระวางขับน้ำเต็มที่ 1,969 ตัน
- ความเร็วสูงสุด 23 นอต
- รัศมีทำการที่ความเร็ว 15 นอต ได้ถึงระยะ 3,500 ไมล์ทะเล
- อาวุธประจำเรือที่สำคัญ คือ ปืนขนาด 76 มิลลิเมตร แบบอัตโนมัติ และปืนขนาด 30 มิลลิเมตร แท่นเดี่ยว จำนวน 2 กระบอก
- ระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่พื้น ฮาร์พูน จำนวน 2 แท่น แท่นละ 4 ท่อ ยิงโดยเรือสามารถปฏิบัติการในทะเลเปิด ต่อเนื่องได้อย่างน้อย 14 วัน โดยไม่ต้องรับการส่งกำลังบำรุงและสามารถปฏิบัติการได้ในสภาวะทะเลระดับ SEA STATE 5

ข้อมูลจำเพาะพิธีวางกระดูกงูเรือ
พิธีวางกระดูงูเรือ เป็นพิธีแรกในการสร้างเรือ คำว่า “กระดูกงู” ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ.2525 หมายถึง ตัวไม้หรือเหล็กที่ทอดตลอดลำเรือสำหรับตั้งกง ดังนั้น จึงเห็นได้ว่าพิธีวางกระดูกงูเรือจึงเป็นพิธีที่สำคัญพิธีหนึ่งในการเริ่มสร้างเรือมานับตั้งแต่สมัยโบราณทั้งของไทยและของต่างประเทศ ส่วนพิธีการอาจจะแตกต่างกันไปบ้างขึ้นอยู่กับความเชื่อของแต่ละชาติ
พิธีวางกระดูกงูเรือของไทยนั้น คงจะสืบเนื่องมาจากการนับถือเทพธิดา (นางไม้) เพราะในสมัยโบราณถือกันว่าการเข้าป่าตัดไม้ต้องทำพิธีบวงสรวงเทพารักษ์ (พฤกษเทวดา) เสียก่อนจึงจะหาตัวเรือไม้แม่ย่านางและมาดเรือได้ดี และเป็นไม้ที่นายช่างผู้ชำนาญการต่อเรือได้พิจารณาเลือกคัดเอาแต่ที่อย่างเอกๆ เป็นไม้ที่ดีที่หนึ่ง เมื่อได้ไม้มาแล้วก่อนจะทำการโกลนและเปิดมาดขึ้นกง (การปรับแต่งตัวเรือและขึ้นโครงเรือเฉพาะเรือไม้) ก็ทำพิธีบวงสรวงเชิญเทวพฤกษ์มาสิงสถิตปกปักรักษา พิธีนี้ก็เห็นจะเนื่องมาจากพิธีของพราหมณ์ดังกล่าวมาแล้ว

สำหรับราชนาวีไทยคงได้ประกอบพิธีมาตั้งแต่สมัยเรือรบที่สร้างตัวเรือด้วยไม้ ต่อมาได้เปลี่ยนการสร้างจากตัวเรือไม้มาเป็นตัวเรือเหล็ก สำหรับเรือรบที่สร้างด้วยเหล็กตามหลักฐาน ได้มีพิธีวางกระดูกงูเรือหลวงสัตหีบเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ.2499 โดย กรมอู่ทหารเรือเป็นผู้สร้าง ได้มีพิธีทางศาสนาพุทธ พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ และพิธีพราหมณ์ประกอบการบูชากฤษ์ มี ฯพณฯ จอมพลเรือ ป.พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานประกอบพิธีย้ำหมุดเป็นปฐมฤกษ์ และมี จอมพลเรือ ป.ยุทธศาสตร์โกศล ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นผู้กล่าวเชิญประกอบพิธี ในปัจจุบันได้กำหนดพิธีวางกระดูกงูของราชนาวีไทย พอสังเขปดังนี้
พิธี ประกอบด้วย การเจิมกระดูกงู คล้องพวงมาลัย แล้วทำพิธีวางกระดูกงูโดยใช้ค้อนตอกย้ำหมุดตัวแรก หรือกดปุ่มสวิตช์ทำการประสานกระดูกงูด้วยไฟฟ้า
ผู้ประกอบพิธี ในประเทศอาจเป็น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระบรมวงศานุวงศ์ ผู้บังคับบัญชาระดับสูงในกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารเรือ หรือผู้แทนต่างประเทศ อาจเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในประเทศนั้นๆ ผู้บัญชาการทหารเรือ หรือผู้แทนตามที่กองทัพเรือจะพิจารณากำหนดพิธี แล้วแต่ฤกษ์

กองทัพเรือต่อเรือ OPV ลำที่ 2



วันอังคารที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2560

RTA : OPLOT-T Exercise..

รวมภาพ รถถังหลัก OPLOT-T ของ กองพันทหารม้าที่ 2 กองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ จากการฝึกต่างๆ ของกองทัพบก รวมทั้งการเข้าร่วม การฝึกกองทัพเรือ ปี'60 ที่ สนามฝึก ทร.หมายเลข 16 บ้านจันเขลม จ.จันทบุรี ด้วย..

วันเสาร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2560

กำหนดพิธีวางกระดูกงูเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง ลำที่ 2

พิธีวางกระดูกงูเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง ลำที่ 2 เฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม 2560
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร... ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ไปทรงวางกระดูกงู เรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง ลำที่ 2 เฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม 2560 ณ อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช กรมอู่ทหารเรือ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ในวันศุกร์ที่ 23 มิถุนายน 2560 เวลา 14.00 น.

โครงการสร้างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งลำที่ 2 เฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม 2560 เป็นโครงการที่กองทัพเรือขออนุมัติกระทรวงกลาโหม ดำเนินการต่อขึ้นจากแบบเรือที่กองทัพเรือมีใช้ราชการ เพื่อเป็นการพึ่งพาตนเองและพัฒนาขีดความสามารถด้านการต่อเรือขนาดใหญ่ของกองทัพเรือให้เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งกองทัพเรือได้แต่งตั้งคณะทำงานศึกษาแบบเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งที่กองทัพเรือมีใช้ในราชการ โดยมีมติให้ใช้แบบเรือของ เรือหลวงกระบี่ เป็นแบบพื้นฐานในการสร้างเรือลำใหม่ พร้อมกับเสนอแนะให้ปรับปรุงข้อบกพร่องในส่วนต่างๆ ที่เคยเกิดขึ้นกับ เรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุด เรือหลวงปัตตานี และ เรือหลวงกระบี่ เพื่อให้เรือลำใหม่มีคุณลักษณะที่เหมาะสมมากขึ้นในการตอบสนองภารกิจของกองทัพเรือ โดยกองทัพเรืออนุมัติให้โครงการสร้างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง ลำที่ 2 เป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม 2560
ทั้งนี้ โครงการสร้างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง ลำที่ 2 เฉลิมพระเกียรติฯ เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนากำลังรบตามยุทธศาสตร์กองทัพเรือ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของกองทัพเรือในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล การรักษากฎหมายในทะเล และการปฏิบัติการรบผิวน้ำ รวมทั้งการค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยในทะเล และสนับสนุนการปฏิบัติการทางเรืออื่นๆ

สำหรับการดำเนินโครงการสร้างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง ลำที่ 2 เฉลิมพระเกียรติฯ มีระยะเวลาดำเนินโครงการ 4 ปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2558 – 2561 แบ่งออกเป็น 2 ระยะ โดยระยะที่ 1 เป็นการจัดหาเฉพาะระบบตัวเรือ จำนวน 1 ลำ ประกอบด้วยแบบและพัสดุในการสร้างเรือ พร้อมระบบสนับสนุนการส่งกำลังบำรุงรวมและการบริการทางด้านเทคนิค ระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ.2558 – 2561 ระยะที่ 2 การจัดหาระบบควบคุมบังคับบัญชาและตรวจการณ์ และระบบอาวุธ ระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่ พ.ศ.2559 – 2561 โดยจะดำเนินการสร้างเรือ ณ อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช จึงอาจกล่าวได้ว่า กองทัพเรือ ได้ใช้ศักยภาพและความรู้ความสามารถของกำลังพลกองทัพเรือ ในการดำเนินการติดตั้ง ทดสอบ ได้อย่างเต็มภาคภูมิ แม้ว่าจะใช้แบบเรือของต่างประเทศ แต่ถือเป็นการสร้างเรือขนาดใหญ่ด้วยการพึ่งพาตนเอง โดยอู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช นับได้ว่าเป็นอู่ซ่อมเรือที่มีขนาดใหญ่มากแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ สามารถให้บริการซ่อมบำรุงเรือทุกขนาดที่กองทัพเรือมีประจำการ

คุณลักษณะเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง เฉลิมพระเกียรติฯ
- ความยาวตลอดลำ 90.50 เมตร กว้าง 13.50 เมตร
- กินน้ำลึก 3.70 เมตร
- ระวางขับน้ำเต็มที่ 1,969 ตัน
- ความเร็วสูงสุด 23 นอต
- รัศมีทำการที่ความเร็ว 15 นอต ได้ถึงระยะ 3,500 ไมล์ทะเล
- อาวุธประจำเรือที่สำคัญ คือ ปืนขนาด 76 มิลลิเมตร แบบอัตโนมัติ และปืนขนาด 30 มิลลิเมตร แท่นเดี่ยว จำนวน 2 กระบอก
- ระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่พื้น ฮาร์พูน จำนวน 2 แท่น แท่นละ 4 ท่อยิงโดยเรือสามารถปฏิบัติการในทะเลเปิด ต่อเนื่องได้อย่างน้อย 14 วัน โดยไม่ต้องรับการส่งกำลังบำรุและสามารถปฏิบัติการได้ในสภาวะทะเลระดับ SEA STATE 5
ข้อมูลจำเพาะพิธีวางกระดูกงูเรือ
พิธีวางกระดูงูเรือ เป็นพิธีแรกในการสร้างเรือ คำว่า “กระดูกงู” ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ.2525 หมายถึง ตัวไม้หรือเหล็กที่ทอดตลอดลำเรือสำหรับตั้งกง ดังนั้นจึงเห็นได้ว่าพิธีวางกระดูกงูเรือจึงเป็นพิธีที่สำคัญพิธีหนึ่งในการเริ่มสร้างเรือมานับตั้งแต่สมัยโบราณทั้งของไทยและของต่างประเทศ ส่วนพิธีการอาจจะแตกต่างกันไปบ้างขึ้นอยู่กับความเชื่อของแต่ละชาติ
พิธีวางกระดูกงูเรือของไทยนั้น คงจะสืบเนื่องมาจากการนับถือเทพธิดา (นางไม้) เพราะในสมัยโบราณถือกันว่าการเข้าป่าตัดไม้ต้องทำพิธีบวงสรวงเทพารักษ์ (พฤกษเทวดา) เสียก่อนจึงจะหาตัวเรือไม้แม่ย่านางและมาดเรือได้ดี และเป็นไม้ที่นายช่างผู้ชำนาญการต่อเรือได้พิจารณาเลือก คัดเอาแต่ที่อย่างเอกๆ เป็นไม้ที่ดีที่หนึ่ง เมื่อได้ไม้มาแล้วก่อนจะทำการโกลนและเปิดมาดขึ้นกง (การปรับแต่งตัวเรือและขึ้นโครงเรือเฉพาะเรือไม้) ก็ทำพิธีบวงสรวงเชิญเทวพฤกษ์มาสิงสถิตปกปักรักษา พิธีนี้ก็เห็นจะเนื่องมาจากพิธีของพราหมณ์ดังกล่าวมาแล้ว
สำหรับราชนาวีไทยคงได้ประกอบพิธีมาตั้งแต่สมัยเรือรบที่สร้างตัวเรือด้วยไม้ ต่อมาได้เปลี่ยนการสร้างจากตัวเรือไม้มาเป็นตัวเรือเหล็ก สำหรับเรือรบที่สร้างด้วยเหล็กตามหลักฐาน ได้มีพิธีวางกระดูกงูเรือหลวงสัตหีบเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ.2499 โดย กรมอู่ทหารเรือ เป็นผู้สร้าง ได้มีพิธีทางศาสนาพุทธ พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ และพิธีพราหมณ์ประกอบการบูชากฤษ์ มี พณฯ จอมพลเรือ ป.พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานประกอบพิธีย้ำหมุดเป็นปฐมฤกษ์ และมี จอมพลเรือ ป.ยุทธศาสตร์โกศล ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นผู้กล่าวเชิญประกอบพิธี ในปัจจุบันได้กำหนดพิธีวางกระดูกงูของราชนาวีไทย พอสังเขปดังนี้
พิธี ประกอบด้วย การเจิมกระดูกงู คล้องพวงมาลัย แล้วทำพิธีวางกระดูกงูโดยใช้ค้อนตอกย้ำหมุดตัวแรก หรือกดปุ่มสวิตช์ทำการประสานกระดูกงูด้วยไฟฟ้า
ผู้ประกอบพิธี ในประเทศอาจเป็น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระบรมวงศานุวงศ์ ผู้บังคับบัญชาระดับสูงในกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารเรือ หรือผู้แทนต่างประเทศ อาจเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในประเทศนั้นๆ ผู้บัญชาการทหารเรือ หรือผู้แทนตามที่กองทัพเรือจะพิจารณากำหนดพิธี แล้วแต่ฤกษ์


ฝึกเบื้องสูง กรมบิน ประจำปี 60




..อากาศยาน กรมบินทหารบก



วันพฤหัสบดีที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2560

RDF60 : หน่วยบินเฉพาะกิจหน่วยพร้อมรบเคลื่อนที่เร็วของกองทัพบก


กองพันบินที่ 2 กรมบิน ได้เข้าร่วมการฝึกในการฝึกหน่วยพร้อมรบเคลื่อนที่เร็วของกองทัพบก หรือ RDF ประจำปี 60 ตั้งแต่ วันที่ 20-28 เม.ย.60

วันอังคารที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2560

รถถังหลัก OPLOT-T คันที่ 21 - 25 นำส่งถึงประเทศไทยแล้ว

ภาพอย่างไม่เป็นทางการของ รถถังหลัก OPLOT-T ของกองทัพบกไทย จำนวน 5 คัน (คันที่ 21 - 25) ซึ่งนำส่งจากประเทศยูเครน เดินทางมาถึงประเทศไทยแล้วเมื่อต้นเดือนมิถุนายน 60.. ทั้งนี้ทางการยูเครนได้นำส่ง รถถังหลัก OPLOT-T ตามมาอีก จำนวน 5 คัน (คันที่ 26 - 30) ในเดือนนี้ คาดว่าจะเดินทางมาถึงประเทศไทยเร็วๆ นี้
ภาพจาก:>


Ukroboronprom พร้อมส่ง รถถังหลัก OPLOT-T ชุดต่อไป ...